ในตอนเปิดตัวผลิตภัณฑ์ Windows server 2019 ทางไมโครซอพต์ได้ปล่อยเครื่องมือบริหารจัดการที่ชื่อ Windows Admin Center (ชื่อเดิมคือ Project Honolulu) มาเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการทำงานให้ง่ายและมีความทันสมัย (Modernize) ยิ่งขึ้น การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยนปฎิวัติวิธีการเข้าถึงเครื่องมือที่ใช้ดูแลระบบเครื่องเซอร์เวอร์และพีซีครั้งใหญ่เลยทีเดียว
จากเดิมเครื่องมือและทูลต่างๆที่ทางไอทีแอดมินเรียกใช้งานจะมีการทำงานบน Windows Native App ที่อยู่ภายใน Server Manager และรันอยู่ภายใต้ Microsoft Management Console (MMC) เป็นหลัก แต่ทว่าในครั้งนี้ทางไมโครซอพต์ได้ทำการพัฒนารูปแบบการทำงานขึ้นมาใหม่ โดยการอินทริเกรตเครื่องมือต่างๆรวบเข้ามาทำงานอยู่บนโปรแกรมเดียวกันแบบบูรณการ โดยมี User Interface (UI) แบบ Modernize Web-based ข้อดีคือ ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องสลับโปรแกรมไปมาหลายโปรแกรมอีกต่อไป ทำให้สะดวกและประหยัดเวลาในการทำงานลง และสามารถเรียกใช้งาน Windows Admin Center ผ่านทาง Web browser รุ่นใหม่ต่างๆ ตัวอย่างเช่น Microsoft Edge (Beta) หรือ Chrome เป็นต้น ซึ่งถ้าใครเคยใช้งาน Admin Tool บน Office 365 จะเห็นได้ชัดว่ามีลักษณะใกล้เคียงกันมาก
ภาพตัวอย่างหน้าจอแดชบอร์ดของ Windows Admin Center
เมื่อผนวกรวมกับความสามารถในการจัดการ Cloud Service อย่าง Microsoft Azure และ Azure Stack ที่เป็นทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ได้ในโปรแกรมเดียวกัน ผนวกกับการจัดการ Hyper-V และ Visualize Network ได้อีกด้วย เพิ่มเติมความสามารถด้วยปลั๊กอินเสริมหรือ Extension ที่ถูกพัฒนาโดยตรงจากไมโครซอพต์ และจากพาร์ทเนอร์ของไมโครซอพต์ เช่น HPE, DELL EMC, Fujitsu และยังมีอีกหลายบริษัทที่สร้างปลั๊กอินเพื่อมาเสริมความสามารถให้กับ Windows Admin Center ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นไปอีก
วันนี้ทางแอดมินจะยกตัวอย่าง 10 Features ยอดนิยมที่เราสามารถใช้งานผ่าน Windows Admin Center เพื่อการทำงานที่สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกัน
- Active Directory Domain Services (AD DS)
Windows Admin Center มาพร้อมความสามารถในการจัดการ Active Directory Domain Services (AD DS) โดยการติดตั้งปลั๊กอินเพิ่มเติมจากเมนู Extensions มีความสามารถในการจัดการสร้างและปรับแต่ง Directory Object ได้ เช่น การสร้าง OU, Users, Computers ภายในโดเมน
- Certificates
ไม่จำเป็นต้องเรียก mmc -> certificates อีกต่อไป Windows Admin Center มาพร้อมเครื่องมือในการจัดการ Certificates ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราดูแลอยู่ บวกกับความสามารถในการ Import / Export Certificate ได้รวมถึงความสามารถในการ Renew / Revoke Certificate ก็สามารถทำได้เช่นกัน
- DNS
Windows Admin Center มีความสามารถในการจัดการ DNS Servers ได้ผ่านเมนู DNS โดยเราสามารถสร้าง DNS Zone และสามารถจัดการ DNS Record แบบ Forward lookup และ Reverse lookup ได้เช่นกัน
- DHCP
Windows Admin Center ยังสามารถจัดการ DHCP Servers ได้โดยมีความสามารถสร้าง DHCP Scope รวมถึงการทำ Exclusion List และ Reserved List ได้เช่นกัน
- Schedule Task
ใครที่ต้องทำงานเกี่ยวกับ Schedule Task บ่อยๆสามารถเรียกใช้ Windows Admin Center เพื่อทำงานได้เช่นกัน สามารถทำการสร้างเปลี่ยนแปลง Schedule Task ได้ผ่านเมนูนี้
- Firewall
Windows Admin Center สามารถปรับแต่ง Firewall Rule ทั้ง Incoming traffics และ Outgoing traffics ของเซอร์เวอร์ที่เราดูแลอยู่ได้ผ่านเมนู Firewall เช่นกัน
- Windows Registry
Windows Admin Center มีความสามารถในการเรียกดูและปรับแต่งค่าของ Windows Registry ผ่านเมนู Registry ได้เช่นกัน โดยผู้ใช้งานต้องมีสิทธิ์ในการแก้ไข Registry ในเครื่องนั้นด้วย ถึงจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์
- Performance Monitor และ Event Viewer
ฟังก์ชั่นยอดนิยมอย่าง Performance Monitor และ Event Viewer ก็สามารถทำงานผ่าน Windows Admin Center ได้เช่นกัน รวมถึงการ Export Log ออกมาเป็น .csv ก็สามารถทำได้
- Storage and File Shares
การจัดการ Storage Disk, Volume ,File และ File share สามารถทำงานผ่าน Windows Admin Center ได้เช่นกัน
- Roles and Features
ฟีเจอร์สำคัญอย่าง Roles and Features ก็มีให้ใช้งานใน Windows Admin Center เช่นกัน สามารถติดตั้ง Role หรือ Features ที่เราต้องการไปยังเซอร์เวอร์ต่างๆได้ทันที
เบื้องหลังการทำงานของ Windows Admin Center ก็คือ Powershell Command…
การทำงานของ Windows Admin Center มี Powershell ทำงานอยู่เบื้องหลัง และเราสามารถเรียกดู Powershell History ย้อนหลังโดยคลิกตรงไอคอนรูป powershell ที่อยู่ตรงเมนูบาร์ได้ตลอดเวลา เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาทางด้าน Shell script
สรุปส่งท้ายสำหรับ Windows Admin Center เวอร์ชั่นล่าสุดนี้ ได้มีการฟีเจอร์ใหม่เข้าไปอย่าง Active Directory Domain Service, DNS, DHCP และอื่นๆอีกมากมายเข้าไป ทำให้มีความน่าสนใจในการใช้งานมากยิ่งขึ้น สำหรับใครที่สนใจใช้งานสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรีที่นี่ ระบบปฎิบัติการที่สนับสนุน Windows Server 2008 R2 จนถึง Windows Server 2019 และ Windows 10.