TOP 10 ฟีเจอร์ใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นใน Windows Server 2019 Failover Clustering

Windows Server 2019 Failover Clustering มีหลายสิ่งถูกพัฒนาและปรับปรุงขึ้น ให้มีความสามารถมากกว่ารุ่นก่อนหน้า มีหลายฟีเจอร์ใหม่ที่เวอร์ชั่นก่อนหน้าทำไม่ได้แต่ในเวอร์ชั่นนี้สามารถทำได้ ยกตัวอย่างเช่น USB File Share Witness นั่นคือที่เราสามารถนำ USB drive เป็น Witness ให้ Quorum สามารถ Vote ค่าเพื่อตรวจสอบสถานะการทำงานของ Clustering ในกรณีที่โหนดใดโหนดหนึ่งไม่สามารถติดต่อได้เป็นต้น และฟีเจอร์ใหม่ๆอีกมากมาย โดยวันนี้จะขอแนะนำ 10 ฟีเจอร์ใหม่ที่ถูกเพิ่มเข้ามาดังนี้

  1. Cross-Domain Cluster Migration

การย้าย VM ที่ทำงานภายใต้คลัสเตอร์ข้ามโดเมน (Active Directory) ร้องว้าวกันที่เดียวสำหรับฟีเจอร์นี้ ถือว่ารอคอยกันมาอย่างยาวนาน การย้ายหรือ Migrate VM ข้ามโดเมน ในเวอร์ชั่นก่อนหน้า เราไม่สามารถย้ายหรือ Migrate VM ที่ทำงานในคลัสเตอร์ข้ามไปมาละหว่างโดเมนได้ ถ้าจำเป็นจะย้ายอาจจะต้อง Destroy Cluster หรือทุบคลัสเตอร์นั้นทิ้งก่อน แต่ในเวอร์ชั่น Windows Server 2019 นี้สามารถทำได้ สามารถย้ายได้ทันที ภายใต้เงื่อนไขทั้ง Clustering ทั้งสองโดเมนต้องทำงานอยู่บน Windows Server 2019 เหมือนกัน รวมถึงความสามารถในการสร้างคลัสเตอร์ แบบ Mixed-domain (การสร้าง Cluster ที่อนุญาตให้แต่ละ node สามารถอยู่คนละโดเมนได้)

       ถือว่าเป็นคิลเลอร์ฟีเจอร์ทีเดียวสำหรับอันนี้ ทางไมโครซอพต์ปรับปรุงตัวนี้ขึ้นมาตอบโจทย์ Cloud Infrastructure ที่มีความซับซ้อนและหลากหลายได้อย่างเหมาะเจาะทันเวลา ต่อไปเราจะสามารถย้าย VM ที่อยู่ภายในคลัสเตอร์ข้ามโดเมนจาก On Premise ไปยัง On Cloud ได้แบบ Seamless หรือไร้รอยต่อเลยทีเดียว.

2.) Cluster-Shared Volumes (CSV) Improvements

การปรับปรุงความสามารถของ Cluster-Shared Volumes (CSV) ให้สามารถรองรับการ access ข้อมูลจากหลาย node ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงการเซ็ตค่า CSV Cache ให้ทำงานแบบดีฟอลตฅ์ เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานของ CSV โดยรวมให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม การเพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกับ Microsoft Distributed Transaction Coordinator (MSDTC) Role และ Storage Space Direct (S2D) ได้อย่างกลมกลืนเหมาะสำหรับ SQL Server Clustering หรือแอพพลิเคชั่นอื่นๆที่สนับสนุนฟีเจอร์นี้ อีกทั้งเวอร์ชั่นนี้ยังสนับสนุน CSV Encryption เพื่อเพื่อความปลอดภัยในการส่งข้อมูลภายในคลัสเตอร์ด้วยเช่นกัน

        CSV ถือว่าเป็นแกนกลางของคลัสเตอร์โดยจะทำหน้าที่ Share storage สำหรับ Failover Cluster เป็นดิกส์กลางให้แต่ละโหนดใช้ทำงานร่วมกัน ดังนั้นการเพิ่มความสามารถตรงนี้ถือว่าน่าสนใจและดูน่าใช้งานขึ้นมาอีกมากเลยทีเดียว

3) Azure-Aware Guest Clusters

การปรับปรุงความสามารถในการสร้าง Failover Cluster บน VM ทดแทนการสร้างคลัสเตอร์แบบเดิมที่สร้างบน Physical Servers เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมแบบ High-availability สำหรับแอพพลิเคชั่นที่รันใน VM นั้นตัวอย่างเช่น SQL โดยทางไมโครซอพต์จะเรียกคลัสเตอร์ที่รันบน VM ในลักษณะนี้ว่า Guest Cluster  โดยส่วนใหญ่ Guest Clusterจะทำงานอยู่ภายใต้ Private Cloud และ Azure Public Cloud อีกที โดยทั้งหมดจะทำงานอยู่บน VM เป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว และการสร้าง Guest Cluster บน Azure Public Cloud ในเวอร์ชั่นนี้ สามารถสร้างคลัสเตอร์ให้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก เช่นการที่เราไม่ต้องปรับเซ็ตค่า Load Balance เพิ่มเติมในตอนสร้างคลัสเตอร์ เหมือนในเวอร์ชั่นก่อนหน้า ทำให้การสร้าง Guest Cluster สามารถทำได้รวดเร็วและง่ายกว่าเดิมยิ่งขึ้นไปอีก

4) USB File Share Witness (FSW) for Quorum

ฟีเจอร์นี้ถือว่าเด็ดเช่นกัน สำหรับ USB File Share Witness (FSW) ที่อนุญาตให้เราสามารถใช้ USB storage device เสียบกับอุปกรณ์เน็ตเวิร์ค Switching หรือ Router และทำหน้าที่เป็น File Share Witness สำหรับคลัสเตอร์ได้ โดยในเวอร์ชั่นก่อนต้องมีการสร้าง File Share Server เพื่อซัพพอร์ตตรงนี้ ซึ่งทำให้การสร้าง File Share Witness สามารถทำได้ง่ายขึ้นอีกทั้งยังประหยัดงบประมาณในการสร้างระบบคลัสเตอร์ลงได้อีกด้วยเช่นกัน

5) New File Share Witness (FSW) for Quorum Scenario

ต่อยอดมาจากข้อที่แล้ว เพิ่มเติมความสามารถของ File Share Witness ปรับความสามารถในการโหวตให้มีเสถียรภาพที่ดีขึ้น สามารถทำงานบน drive แบบไม่ต้องมี disks เช่น USB Drive และทำงานได้ดีแม้ในสภาวะ poor network connection รวมถึงความสามารถในการ Vote Quorum โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ภายใต้ domain (standalone) หรืออยู่คนละโดเมนก็ยังสามารถทำงานได้ดีเช่นกัน

6) Cluster Sets

ฟีเจอร์นี้เป็นการเพิ่มความสามารถในการทำ Cluster of Cluster หรือการทำคลัสเตอร์ซ้อนคลัสเตอร์ได้ เพิ่งเริ่มมีใช้งานครั้งแรกในเวอร์ชั่นนี้เท่านั้น รองรับการทำ Live migration ระหว่างคลัสเตอร์ในเซ็ตเดียวกัน สามารถจัดกลุ่มคลัสเตอร์ให้อยู่ภายใต้โครงข่ายเดียวกัน เพื่อสะดวกในการ Management รองรับการสร้าง Scale Out File Server ที่สามารถเข้าถึงได้จาก  Cluster set เดียวกัน รองรับการ Migration ข้ามไปมาอีกทั้งการ Provisioning VM สามารถสร้างแบบกระจายไปยัง Cluster ต่างๆได้จากแอดเดสเดียวกัน เพิ่มเติมการบริหารจัดการและมอนิเตอร์ผ่าน Windows Admin Center (WAC) ทำให้สามารถทำงานแบบเห็นองค์รวมได้ดียิ่งขึ้น

7) Cluster-Aware Updating for Storage Spaces Direct (S2D)

Cluster-Aware Update (CAU) คือความสามารถในการ Patching node โดย Cluster-Aware Update จะทำหน้าที่จัดการแพชชิ่งให้ในแต่ละโหนดแบบทีละโหนด และสามารถตั้งเวลาให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติ โดยคลัสเตอร์ไม่เกิดการ downtime และในเวอร์ชั่น Windows Server 2019 นี้ Cluster-Aware Update รองรับการทำงานบน Storage Spaces Direct (S2D) ทำให้เราสามารถมั่นใจได้ว่าการอัพเดตจะถูกซิงค์ไปยังทุกโหนดที่เราต้องการ

8) Improved Security with Certificates and Kerberos

Windows Server 2019 Failover Clustering ได้ยกเลิกการการตรวจสอบหรือ Authentication แบบ NTLM ที่มีช่องโหว่ด้านปลอดภัยหลายอย่าง ไปเป็น Kerberos และ Certification ที่ปลอดภัยยิ่งกว่า ทำให้ข้อมูลที่ส่งไปมาระหว่างคลัสเตอร์และภายในคลัสเตอร์เองมรความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้น

9) Windows Admin Center (WAC) Integration

Windows Server 2019 นำเสนอ Windows Admin Center (WAC) ซึ่งเป็น Admin Management tool ในรูปแบบ Web-application based ลักษณะคล้ายๆกับ vSphere ของ VMware และ WAC ยังสามารถการคอนฟิคค่าต่างๆบน Windows Server ได้แทบทุกอย่างผ่านทูลนี้ รวมถึงการจัดการคลัสเตอร์และ VM ได้เช่นกัน โดยสามารถดาวน์โหลด WAC ได้ที่นี่ https://www.microsoft.com/en-us/cloud-platform/windows-admin-center

10) Self-Healing Failover Clusters

Windows Server 2019 Failover Clustering เพิ่มเติมความสามารถในการตรวจสอบซ่อมแซม (Self-Resilient) รวมถึงการเพิ่มเติมความสามารถในการ Rejoin node กลับเข้าไปยังคลัสเตอร์และ Reroute traffic ไปยังโหนดใหม่ได้แบบอัติโนมัติ ทำให้การทำงานแบบคลัสเตอร์มีเสถียรภาพที่ดียิ่งขึ้น

นอกเหนือจาก 10 ฟีเจอร์ข้างต้นยังมีอีกหลายหลายฟีเจอร์ ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงถ้าใครสนใจลองไปอ่านต่อได้เว็บไซต์ของไมโครซอพต์ที่นี่

สรุป Windows Server 2019 Failover Clustering เพิ่มเติมฟีเจอร์ใหม่ๆออกมาหลายอย่างเพื่อรองรับรูปแบบการทำงานที่เป็นแบบ Hybrid ระหว่าง On-premise และ On-Cloud ได้ดียิ่งขึ้น สามารถตอบโจทย์การทำงานในรูปแบบ Hyper Convergence Infrastructure (HCI) ได้อย่างเหมาะเจาะและลงตัว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *